วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2556

การพัฒนาคุณธรรมด้านความมีน้ำใจของผู้เรียนชั้น ม.2


บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

ในการวิจัยครั้งนี้  การใช้กิจกรรมกลุ่มเพื่อพัฒนาคุณธรรมด้านความมีน้ำใจของนักเรียน  และเพื่อให้เกิดแนวความคิดในการศึกษา ผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ซึ่งได้นำเสนอตามหัวข้อต่อไปนี้
1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม
2. เอกสารเกี่ยวข้องกับความมีน้ำใจ
2.1 ความหมายของความมีน้ำใจ
2.2 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความมีน้ำใจ
2.3 ลักษณะของผู้ที่มีความมีน้ำใจ
3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
3.2 งานวิจัยในประเทศ

1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิธีการสอนโดยใช้กิจกรรมกลุ่ม
กำหนดทักษะและคุณลักษณะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตในสังคมยุคโลกาภิวัฒน์ มี 3 ด้าน คือ
1. ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ในอนาคต ได้แก่ มีทักษะการเรียนรู้ทักษะการคิด และทักษะการสื่อสาร
2. ทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อการทำงาน ได้แก่ มีทักษะการจัดการ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
ขยัน อดทน อดออมและประหยัด
3. ลักษณะที่จำเป็นต่อการอยู่ร่วมกันในสังคม ได้แก่ ควบคุมตนเองได้มีความรับผิดชอบ มีวินัยในตนเอง ช่วยเหลือผู้อื่น เสียสละ มุ่งมั่นพัฒนา
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540: 1-6) ได้กำหนดคุณลักษณะของเด็กและเยาวชนที่พึงประสงค์ 5 ประการ ดังนี้
1. มีความสนใจใฝ่รู้และสร้างสรรค์
2. มีความมีน้ำใจ
3. มีความมีวินัย
4. มีความเป็นไทย
5. มีการบริโภคด้วยปัญญาในวิถีชีวิตไทย

กรมวิชาการ (2541: 9) ได้ให้ความหมายคุณลักษณะของพลโลกในอนาคต สรุปได้ดังนี้
1. สามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตประจำวันได้
2. สามารถคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ
3. สามารถเข้าใจและยอมรับในความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
4. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนในสังคม
5. สามารถมองเห็นปัญหาในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมระดับท้องถิ่น ระดับประเทศระดับโลก และเต็มใจที่จะแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี
6. เต็มใจที่จะเปลี่ยนวิถีชีวิต และนิสัยในการบริโภคของตนเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
และสร้างคุณภาพชีวิตผู้ทรงคุณวุฒิและหน่วยงานต่างๆ
 (กรมวิชาการ. 2541: 11) ได้กำหนดคุณลักษณะของเด็กไทยในอนาคตที่พึงประสงค์ ดังนี้
1. มีสุขภาพอนามัยที่ดี แข็งแรง สมบูรณ์ มีสุขนิสัยที่ดีในการบริโภค เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสร้างคุณภาพชีวิต
2. มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้และเต็มใจที่จะแก้ปัญหาข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี มีส่วนร่วมพัฒนาการเมืองในระดับท้องถิ่นระดับประเทศ และระดับโลก
3. มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถนำหลักธรรมทางศาสนามาใช้ในการดำรงชีวิตเพื่ออยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
4. สามารถนำความรู้ ความสามารถและทักษะมาประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต
5. มีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล สร้างความเข้าใจ มีทักษะการคิด วิเคราะห์วิพากษ์วิจารณ์ รู้วิธีแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีเหตุผล
6. มีจิตสำนึกภูมิใจในความเป็นไทย สืบสานศิลปวัฒนธรรม ยอมรับในความแตกต่างด้านวัฒนธรรม
7. สามารถต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมในสังคมไทยโดยสันติวิธี
กรมวิชาการ (2542: 4) ได้กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนสมดุลทั้งด้านจิตใจ ร่างกาย ปัญญาและสังคม โดยกำหนดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ที่มุ่งปลูกฝังให้เกิดขึ้นในตัวผู้เรียน ดังนี้
1. มีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม สามารถทำงานและดำรงชีวิตอยู่ในสังคมไทย
2. มีสุขภาพและบุคลิกภาพดี มีสุนทรียภาพ
3. มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหา มีความเป็นผู้นำ และมีวิสัยทัศน์
4. มีความภูมิใจในความเป็นไทยและเป็นพลเมืองดีตามระบอบประชาธิปไตยอันมี
พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
5. มีความพร้อมที่จะร่วมมืออย่างสร้างสรรค์ในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมและ
สามารถแข่งขันอย่างสันติในสังคมโลก

2. เอกสารเกี่ยวกับความมีน้ำใจ
2.1 ความหมายของความมีน้ำใจ
ความมีน้ำใจเป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่พึงมีในตัวบุคคลและเป็นคุณธรรมที่สำคัญประการหนึ่งสำหรับคนไทย ซึ่งได้มีผู้ให้ความหมายของความมีน้ำใจไว้ดังนี้พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.. 2542 (2546: 580) ได้ให้ความหมายว่าน้ำใจคือ ใจแท้ๆ ใจจริง ความจริงใจ เช่น เห็นน้ำใจ นิสัยใจคอ เช่น น้ำใจพ่อ น้ำใจแม่ความเอื้อเฟื้อ
ประดับ เรืองมาลัย (2519: 56) ได้ให้ความหมายว่าความมีน้ำใจคือความต้องการช่วยเหลือเพื่อนเวลาเขาเดือดร้อน มักยกโทษให้แก่เพื่อน ชอบทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้ผู้อื่น มีน้ำใจต่อผู้อื่น เห็นใจเวลาผู้อื่นได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย แสดงความรักใคร่ชอบพอต่อผู้อื่น ชอบให้ผู้อื่นเล่าเรื่องปัญหาส่วนตัวให้ฟังพรรณราย ทรัพยะประภา (2529: 184) ได้ให้ความหมายของความมีน้ำใจว่า คือส่วนที่มีเมตากรุณา ชอบช่วยเหลือผู้อื่น ปกป้องคุ้มครองผู้อื่นหรือมีความเห็นอกเห็นใจมีน้ำใจดีต่อผู้อื่น เช่นเดียวกับที่พ่อแม่แสดงต่อลูก ผู้บังคับบัญชาที่มีลักษณะเช่นนี้เด่นชัดก็จะมีความเมตตาปราณีต่อลูกน้อง ผู้ให้บริการถ้ามีลักษณะเช่นนี้เด่นชัดก็จะให้บริการอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือผู้มารับบริการ
พระเผด็จ ทัตตชีโว (2531: 59-61) ได้ให้ความหมายของ ความน้ำใจ ใน 2 ลักษณะคือในทางโลกและในทางธรรมในทางโลก ความมีน้ำใจ หมายถึง พอจะช่วยอะไรใครก็ช่วยไปเถอะ อย่าหวงแรงธรรมชาติของคนนั้นแปลกยิ่งออกแรงยิ่งได้แรง ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วนักกีฬาเขาจะวิ่งทำไม โลหิตที่บริจาคไปนั้นย่อมทำให้เกิดโลหิตใหม่ขึ้นมาแทนและมีคุณภาพสูงกว่าเดิมด้วย ถ้าเราแล้งน้ำใจหวงแรงกลัวเหนื่อยกลัวเหงื่อออก ระวังเถอะถ้าเหงื่อไม่ออกแล้วมันจะตกใน วันคืนดีก็จะทะลักออกมาเองแต่ออกมาทางตากลายเป็นน้ำตา เพราะเหตุว่าถึงคราวที่เราต้องการความช่วยเหลือ จากคนอื่นก็ไม่มีใครเขาให้ความช่วยเหลือ ถ้าสามารถช่วยได้ก็ช่วยเขาไปไม่ว่าจะช่วยด้วยแรงกาย แรงใจ หรือแรงทรัพย์ของเรา แต่อย่าช่วยเสียจนกระทั่งตัวเองต้องพลอยเดือดร้อนไปด้วยในทางธรรม ความมีน้ำใจ หมายถึง เป็นผู้มีความกตัญญูรู้คุณคน ใครมีอุปการะก็ต้องหาทางไปตอบแทนพระคุณท่าน นอกจากตอบแทนผู้มีพระคุณแล้ว ก็บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมในโอกาสอันควร อย่างนี้จึงเรียกว่าเป็นผู้ไม่แล้งน้ำใจต่อศาสนาและสังคม
ทวีศักดิ์ ญาณประทีป; และคนอื่นๆ (2531: 282) ได้ให้ความหมายของคำว่าน้ำใจไว้ในหนังสือพจนานุกรมเฉลิมพระเกรียติพุทธศักราช 2530 ว่า หมายถึง ใจจริง นิสัยใจคอ ความเอื้อเฟื้อ
กนก จันทร์ขจร (2533: 287) ได้ให้ความหมายว่าน้ำใจคืออุปนิสัยใจคอแท้ๆ ของคนที่รู้จักระลึกถึงผู้อื่นเรียกว่า มีน้ำใจ ส่วนผู้ที่มุ่งคิดเฉพาะแต่ตนเองเป็นที่ตั้งไม่รู้จักถึงผู้อื่นบ้างเรียกว่าไม่มีน้ำใจหรือขาดน้ำใจ ผู้ที่มีน้ำใจนั้นเป็นผู้ที่เห็นอกเห็นใจผู้อื่น เห็นผู้อื่นได้รับความทุกข์ความเดือดร้อนต้องการความช่วยเหลือก็รับเป็นภาระให้โดยไม่หวังผลตอบแทน เช่น ลุกให้ที่นั่งแก่เด็กสตรี คนชรา บนรถประจำทาง เป็นต้น ตามชนบท ชาวบ้านจะช่วยกันที่เรียกว่าลงแขกเป็นบ่อเกิดของความสมัครสมาน ความสามัคคี คนมีน้ำใจย่อมมีคุณธรรม มีจิตสำนึกในความเมตตากรุณาเป็นพื้นฐานที่จะช่วยเหลือเกื้อกูลโดยไม่หวังผลตอบแทน
เอษณีย์ ฉัตรวิทยานนท์ (2537: 47) ได้ให้ความหมายว่าความมีน้ำใจหมายถึง การแสดงออกทางอารมณ์ และความรู้สึก หรือปฏิกิริยาตอบสนองที่มีต่อผู้อื่นอันเป็นลักษณะทางจิตใจในด้านให้ความช่วยเหลือในเวลาที่ผู้อื่นเดือดร้อน ยกโทษเมื่อทำผิด มีเมตตากรุณาแก่ผู้ที่ด้อยโอกาสและการกระทำนี้เต็มไปด้วยความปรารถนาดี รวมทั้งการให้กำลังใจ ให้แรงบันดาลใจ และจิตไมตรี มิตรภาพที่ไม่หวังผลตอบแทน

2.2 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับความมีน้ำใจ
ณรงค์ศักดิ์ ตะละภัฏ (2529: 98) ได้ให้แนวคิดว่า เรื่องของความมีน้ำใจขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากการเลี้ยงดูและแบบอย่างที่ได้รับ มีความเข้าใจในความแตกต่างระหว่างบุคคล รู้จักหยิบยกความสามารถดีเด่น มองคนในแง่ดี มีความรับผิดชอบในภารกิจที่ได้รับมอบหมาย มีความเป็นระเบียบแบบแผน แบ่งเวลาได้ถูกต้อง เป็นคนคล่องแคล่วกระฉับกระเฉงมองทุกอย่างรอบข้างอย่างฉับไว มีความตื่นตัวอยู่ตลอดเวลาพร้อมที่จะรับและเรียนรู้สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆที่เกิดขึ้นรอบตัวในสังคม
.มาหาขันธ์ (2534: 12-13) ได้ให้แนวคิดว่า น้ำใจเป็นของมีค่า เพราะเป็นเครื่องหล่อเลี้ยงพืชไมตรีให้งอกงาม น้ำใจจึงมีประโยชน์สำหรับผู้อื่น มิใช่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีการที่จะดูว่าคนใด มีน้ำใจหรือไม่ ให้ดูที่นิสัยใจคอ เพราะน้ำใจย่อมแสดงนิสัยใจคอที่แท้จริง คนที่นึกถึงผู้อื่น ก่อนเสมอ เมื่อมีความสุขก็นึกถึงผู้อื่นก่อนว่า คนเหล่านั้นจะเป็นสุขเหมือนตนหรือไม่ ทำอย่างไร จึงจะปันความสุขไปให้ผู้อื่นบ้าง เมื่อมีทุกข์ก็คิดว่าทำอย่างไรผู้อื่นจึงจะไม่ต้องได้รับทุกข์เหมือนตน คนที่รู้จักนึกถึงผู้อื่น เรียกว่า มีน้ำใจ แต่ตรงกันข้าม คนที่มุ่งคิดเฉพาะตนเองเป็น ที่ตั้งไม่รู้จักคิดถึง ผู้อื่นบ้างเลยเรียกว่า ไม่มีน้ำใจ คนที่ไม่มีน้ำใจคือ คนใจดำ เมื่อได้รับทุกข์หรือตกอับได้รับความลำบาก ย่อมหาคนช่วยเหลือได้ยาก คนเราจะอยู่คนเดียวในโลกนี้ไม่ได้ ยิ่งทุกวันนี้ด้วยแล้ว สังคมมีบทบาทสำคัญต่อชีวิตไม่น้อย ฉะนั้นทีท่าที่เราแสดงต่อสังคมจึงเป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน อย่างไร ก็ตามการเป็นคนมีน้ำใจดูเหมือนจะเป็นคาถาที่ช่วยให้คนเอาตัวรอดได้ เพราะถ้าตนมีน้ำใจต่อใคร ผู้อื่นก็ย่อมมีน้ำใจต่อตน แต่ถ้าตนไม่มีน้ำใจ ผู้อื่นก็ย่อมไม่มีน้ำใจให้ตนเช่นกัน การแลกเปลี่ยนน้ำใจ ต่อกันเช่นนี้เป็นการกระชับไมตรีให้แนบแน่น เป็นการสร้างเสริมสังคมให้มั่นคง
วุฒิสวัสดิ์ สวัสดิวัฒน์ (2534: 38) ได้ให้แนวคิดว่าคุณธรรมประการหนึ่งที่ผู้บริหารนักธุรกิจทั้งมนุษย์ทุกคนจะต้องระลึกถึงเสมอคือ ความมีน้ำใจ ผู้ที่มีน้ำใจจะก่อให้เกิดความเบิกบานและอบอุ่นใจแก่ผู้รับ ผู้มีน้ำใจนั้นแม้บางครั้งจะมีภาระมากมีเวลาน้อยแต่ก็ยังเจียดเวลาที่จะรับฟงัปัญหาของผู้อื่นและเต็มใจที่จะให้ความอนุเคราะห์ความช่วยเหลือเท่าที่ตนจะให้ได้ รวมทั้งการให้ข้อคิดด้วยความปรารถนาดี ผู้มีน้ำใจอยากช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความตั้งใจ มีความสุขกับการเป็นผู้ให้และผู้ที่ทำให้บุคคลอื่นมีความสุข ผู้มีน้ำใจทำให้โลกนี้น่าอยู่เพราะเป็นผู้ให้ความรัก ความเมตตาความกรุณาและไมตรีจิตจากหัวใจ ดังนั้น ไม่ว่าเราจะอยู่ในฐานะใด ประกอบอาชีพใด จะเป็นนักธุรกิจหรือไม่ก็ตาม พื้นฐานความเป็นมนุษย์ คือน้ำใจ จะต้องเป็นหลักการสำคัญในการดำรงชีวิตและการประกอบการงาน การสอนตนเองและฝึกฝนตนเองให้มีน้ำใจจึงเป็นสิ่งดีงาม น่ารัก น่านิยม เพราะผู้ที่มีน้ำใจย่อมไม่ขาดแคลน ไม่อับจน ตรงกันข้ามเป็นผู้ที่จะพบหนทางของความสุขความเจริญทุกๆ ด้าน
สมิต อาชวนิจกุล (2535: 131–134) ได้ให้แนวคิดว่า ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องใช้จ่ายเงินทองอะไรมากมาย เราอาจแสดงออกซึ่งความเมตตากรุณาต่อเพื่อนร่วมโลกโดยการช่วยเหลือเล็กๆ น้อยๆ ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ อาทิการขึ้นรถโดยสารประจำทาง วัฒนธรรมดั้งเดิมจะสอนให้สุภาพบุรุษต้องสละที่นั่งให้แก่สตรี เด็กและคนชรา นี่ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจหากเรา ไปเที่ยวในชนบทแถบภาคเหนือหรืออีสาน จะพบว่าชาวบ้านมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเชื้อเชิญให้เราร่วมรับประทานอาหาร เมื่อถึงเวลาอาหารในแต่ละมื้อหรือเมื่อเขาทำอาหารได้มากก็จะแบ่งให้บ้านอื่นๆในหมู่บ้านนั้น เป็นการแสดงน้ำใจต่อกัน การแสดงน้ำใจจึงไม่ใช่วัดกันได้ด้วยเงิน บางคนมีเงินมากแต่อาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่ตระหนี่ถี่เหนี่ยวไม่ยอมสละเงินโดยไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนคนที่มีน้ำใจนั้นเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่าก็จะมีมุทิตาจิตแสดงความยินดีด้วยความจริงใจความมีน้ำใจยังตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว ผู้ที่มีน้ำใจจะนึกถึงผู้อื่นและจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ต่ำต้อยกว่าตัวเอง ขณะที่คนเห็นแก่ตัวมักคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัว กล่าวกันว่า มหาตมะคานธีผู้นำอินเดียนั้นใช้เวลาไปในการแสดงความมีน้ำใจโดยการไปช่วยชาวบ้านยากจนสร้างบ้าน โดยลงมือทำด้วยตนเองจนมีหลายคนที่ไม่เข้าใจคิดว่า คานธีใช้เวลาสิ้นเปลืองไปโดยไม่ได้รับประโยชน์ไม่คุ้มค่า เขาไม่เข้าใจว่านั้นเป็นการแสดงความมีน้ำใจของผู้นำประเทศทีมีต่อราษฎรผู้ยากไร้ ซึ่งผลสะท้อนมีให้เห็นทันทีว่าชาวอินเดียทุกหมู่เหล่าให้ความรักและศรัทธาต่อคานธีประหนึ่งเป็นเทพเจ้าลงมาจุติในโลก มนุษย์ผู้ประสบความสำเร็จ ในการดำรงชีวิต ถ้าหากแล้งน้ำใจอย่างเดียวเขาย่อมเป็นคนที่ขาดคุณค่าต่อสังคมที่เขาอยู่
ถกลทิพย์ แก้วพรหม (2545: ออนไลน์ ) ได้ให้แนวคิดว่า การอยู่ร่วมกันในสังคม จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีน้ำใจไมตรีที่ดีต่อกัน จึงจะอยู่กันได้อย่างสันติสุข ความมีน้ำใจเป็นเรื่องที่ทุกคนทำได้โดยไม่ต้อง ใช้เงินทองมากมายเพียงแต่แสดงความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยการช่วยเหลือเล็กๆ น้อย ๆ ก็เป็นการแสดงน้ำใจได้ เช่น การพาเด็กหรือ ผู้สูงอายุข้ามถนน หรือการสละที่นั่งบนรถโดยสารให้หญิงมีครรภ์ เป็นต้น ก็นับว่าเป็นการแสดงน้ำใจ การแสดงความมีน้ำใจจึงไม่ใช่วัดกันด้วยเงิน บางคนมีเงินมากอาจแล้งน้ำใจก็ได้ บางคนเป็นเศรษฐีแต่ตระหนี่ ถี่เหนียวไม่ยอมสละเงินโดยที่ไม่รับประโยชน์ตอบแทน ความมีน้ำใจนั้น ตรงกันข้ามความเห็นแก่ตัว ขณะที่คนเห็นแก่ตัวมักจะคิดแต่ประโยชน์ส่วนตัวมาก่อน และความมีน้ำใจยังตรงกันข้ามกับความอิจฉาริษยา คนที่อิจฉาริษยา คนอื่นย่อมปรารถนาที่จะเห็นความวิบัติของผู้ที่ได้ดีกว่า แต่คนมีน้ำใจนั้นเมื่อเห็นคนอื่นได้ดีกว่า จะมีมุทิตาแสดง ความยินดีด้วยอย่างจริงใจ ผู้มีน้ำใจจะนึกถึงผู้อื่น และจะพยายามช่วยผู้อื่นที่ด้อยโอกาสกว่าผู้มีน้ำใจจึงเป็นที่รักและต้องการของคนทั่วไป และเป็นคนมีคุณค่าต่อสังคม จะเป็นผู้ที่มีประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตจากข้อความข้างต้นจะพบว่า ความมีน้ำใจ เป็นคุณธรรมพื้นฐานสำหรับการดำรงชีวิตและช่วยให้บุคคลอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุขและยังเป็นคุณลักษณะเด่นของคนไทยอีกด้วยความมีน้ำใจมีพื้นฐานมาจากการรู้จักช่วยเหลือรับผิดชอบต่อตนเอง และการรู้จักเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น รู้สึกเห็นอกเห็นใจ อันจะนำมาซึ่งการรู้จักช่วยเหลือเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น รู้จักแบ่งปันและให้ตลอดจนเสียสละโดยไม่หวังผลตอบแทน เหล่านี้เป็นสิ่งที่พัฒนาตามลำดับ ความมีน้ำใจอาจเป็นการแสดงความรัก และห่วงใยต่อสังคม ทำสิ่งต่างๆ เพื่อช่วยผู้อื่นและสังคมให้มีความสุข

2.3 ลักษณะของผู้ที่มีความมีน้ำใจ
สาโรช บัวศรี (2515: 11) ได้ให้กำหนด ลักษณะของครูที่ดี จะต้องมีทั้งความรู้ ทักษะเจตคติ หรือน้ำใจอันดีงามน้ำใจอันดีงามดังกล่าว ประกอบด้วย
1. การยกย่องให้เกียรติ และนับถือซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ
2. การช่วยเหลือ แบ่งปัน ร่วมมือซึ่งกันและกันอย่างจริงใจ
3. การเข้าใจที่จะใช้ปัญญาในการร่วมมือช่วยเหลือกัน แก้ไขปัญหาทั้งปวงไม่ใช้ความโกรธ ความโลภ และความหลงผิดเข้าปฏิบัติต่อกันโยธิน  ศันสนยุทธ ; และจุมพล พูลภัทรชีวิน (2529: 66) ได้กำหนดถึง พฤติกรรมที่บ่งชี้ความมีน้ำใจไว้ดังนี้
1. พฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ
2. การให้ความสนใจ
3. การให้ความรัก
พระเผด็จ ทัตตชีโว (2531: 31) ได้กำหนดถึง องค์ประกอบของความมีน้ำใจ ไว้ดังนี้
1. มีความเสียสละ
2. โอบอ้อมอารีมีแต่ให้
3. เห็นแก่ส่วนรวม
4. มีความสามัคคี
5. เห็นอกเห็นใจกัน
6. ใจกว้าง
7. มีเมตตากรุณา
8. รักผู้อื่น
คอกซ์และไฮล์เบริน (เอษณีย์ ฉัตรวิทยานนท์. 2537: 56; อ้างอิงจาก Gough and
Heilbrun. 1983: 59) ได้กำหนดถึงความมีน้ำใจ ว่าประกอบด้วย 24 คุณลักษณะดังนี้
1. ความรู้สึกรักใคร่ไม่ทอดทิ้งกัน
2. ความรู้สึกสำนึกบุญคุณคน
3. เกรงใจ
4. ร่วมมือ
5. วางใจได้
6. ให้อภัยไม่ผูกพยาบาท
7. มีความเป็นมิตร
8. ใจกว้าง
9. สุภาพอ่อนโยน
10. ใจดี
11. ชอบช่วยเหลือผู้อื่น
12. กรุณา
13. เข้าสังคม
14. ชอบความสงบสุข
15. มีความรู้สึกรำลึกถึง
16. สังคมดี
17. จิตใจอ่อนโยน
18. เห็นอกเห็นใจผู้อื่น
19. รอบคอบ
20. อดทน
21. ไว้วางใจได้
22. เข้าใจผู้อื่น
23. ไม่เห็นแก่ตัว
24. อบอุ่น
เอ็ดเวิร์ด (เอษณีย์ ฉัตรวิทยานนท์. 2537: 56; อ้างอิงจาก Edwards. 1959) ได้กำหนดถึงคุณลักษณะของความมีน้ำใจไว้ดังนี้
1. ความต้องการช่วยเพื่อนเวลาเขาเดือดร้อน
2. ชอบช่วยเหลือคนที่ด้อยกว่า
3. ชอบปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความมีน้ำใจและรู้สึกเห็นใจ
4. มักยกโทษแก่เพื่อน
5. ชอบทำอะไรเล็กๆ น้อยๆ ให้แก่คนอื่น
6. ชอบเห็นใจเวลาเวลาคนอื่นได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วย
7. แสดงความรักใคร่ต่อคนอื่น
8. ชอบให้คนอื่นเล่าปัญหาส่วนตัวให้ฟัง
กนก จันทร์ขจร (2533: 278) ได้กำหนดถึงคุณลักษณะของคนมีน้ำใจ ไว้ดังนี้
1. มีมนุษยสัมพันธ์
2. รู้จักกาลเทศะและโอกาส
3. ไม่เห็นแก่ประโยชน์
4. ส่วนตัวมากกว่าประโยชน์ส่วนรวม
5. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
6. ไม่นิ่งดูดาย
7. รู้จักให้อุปการะและปฏิบัติต่อผู้อื่นตามแต่โอกาสและไม่หวังผลตอบแทน
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (2540: 15) ได้กำหนดพฤติกรรมที่บ่งชี้
ความมีน้ำใจไว้ดังนี้
1. การช่วยเหลือ
2. การปลอบโยนหรือให้กำลังใจ
3. การแสดงความเอื้ออาทร
4. การชื่นชมยินดีในความดีงามของผู้อื่น
5. การไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น
จากการที่ได้ค้นคว้านิยามคุณลักษณะความมีน้ำใจที่เป็นความเชื่อพื้นฐานของการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยต้องการที่จะศึกษาคุณลักษณะของความมีน้ำใจตามแนวของสำนักงานคณะกรรมการ
วัฒนธรรมแห่งชาติ ซึ่งมีพฤติกรรมที่บ่งชี้ความมีน้ำใจ คือ การช่วยเหลือ การปลอบโยนหรือให้กำลังใจการแสดงความเอื้ออาทร การชื่นชมยินดีในความดีงามของผู้อื่น รวมทั้งการไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น

3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3.1 งานวิจัยในต่างประเทศ
จัสติน (Justice. 1989: 3603) ได้ศึกษาความต้องการให้ผู้อื่นเอื้ออาทร และความมีน้ำใจของ
วัยรุ่นที่มีครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือวัยรุ่นอายุ 12–17 ปี ที่ไม่ได้แต่งงาน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่หนึ่งเป็นวัยรุ่นที่มีครรภ์จาก Florence Crittenton Home ซึ่งอยู่ประจำ กลุ่มที่สองเป็นวัยรุ่นที่มีครรภ์แต่ไม่ได้อยู่ประจำ และกลุ่มที่สามเป็นวัยรุน่ ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เครื่องมือที่ใช้คือ Different PersonalityQuestionnaire ผลการวิจัยพบว่า วัยรุ่นที่มีครรภ์ อยู่ประจำ และวัยรุ่นที่มีครรภ์ ไม่ได้อยู่ประจำมีความต้องการให้ผู้อื่นเอื้ออาทรมากกว่าวัยรุ่นที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ และอยู่ประจำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ซาเบิล (Sable. 1989: 5044) ได้ทำการศึกษาลักษณะของการมีไมตรีสัมพันธ์ ความสนิทสนม และความมีน้ำใจ ภายในขอบเขตความเป็นเพื่อนของเด็กก่อนวัยรุ่น 30 คน กลุ่มตัวอย่างคือ เด็กที่อายุ 9-12 ปี ชาวผิวขาว ชาย 15 คน หญิง 15 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ Thematic Appearception (TA)และ Network of Relationship Inventory (NRI) ผลการวิจัยพบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความแตกต่างในด้านความมีไมตรีสัมพันธ์ ความสนิทสนมและความมีน้ำใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
แลงก์ (Lange. 1989: 3676) ได้ศึกษาตัวแปร 2 ตัวแปรที่พยากรณ์ความพึงพอใจของผู้หญิงและข้อผูกมัดในสัมพันธภาพที่ใกล้ชิดกับความสำคัญเฉพาะบทบาทที่เกี่ยวกับอำนาจ ความมีน้ำใจและความไว้วางใจ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มหนึ่งเป็นหญิง และกลุ่มหนึ่งเป็นชายผลการศึกษาพบว่า เพศชายรายงานว่ามีความมีน้ำใจเป็นสิ่งที่พยากรณ์ถึงความพึงพอใจและข้อผูกมัดส่วนเพศหญิงรายงานว่าความมีน้ำใจเป็นสิ่งพยากรณ์ทางลบกับความพึงพอใจ
โจนส์ (Jones. 1990: 1064) ได้ศึกษาผลของความไม่สบายใจ ความโกรธ เพศ และความมีน้ำใจของผู้ให้คำปรึกษาที่มีต่อปฏิกิริยาต่อต้านพฤติกรรมของผู้ขอรับคำปรึกษาที่แสดงความโกรธ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ให้คำปรึกษา 46 คน ผลการวิจัยพบว่า ความมีน้ำใจสามารถพยากรณ์ความโกรธของผู้ขอรับคำปรึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ให้คำปรึกษาที่รู้สึกกังวลต่อความโกรธของผู้ขอรับคำปรึกษาให้ความมีน้ำใจสูงขึ้น อายุของผู้ให้คำปรึกษามีความสัมพันธ์กับความมีน้ำใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ผู้ให้คำปรึกษาที่อายุน้อยมีความมีน้ำใจมากกว่ากรีแนค (Gryvnak. 1991: 2810) ได้ศึกษาการรับรู้ของวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิงที่มีต่อการยอมรับอุปนิสัยส่วนตัวของทั้งสองเพศ 5 ลักษณะ คือ ความก้าวร้าว ความมีอำนาจความมีน้ำใจ ความเป็นอิสระ และความมีไมตรีสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครวัยรุ่นชายและหญิงจากรัฐแคลิฟอร์เนียตอนใต้ เครื่องมือที่ใช้ คือ The Adjective Check List (ACL)ผลการศึกษาพบว่า วัยรุ่นชายมีการยอมรับอุปนิสัยส่วนตัวของทั้งสองเพศไม่แตกต่างกัน และมีคะแนนใกล้เคียงกับเกณฑ์ วัยรุ่นหญิงมีการยอมรับอุปนิสัยส่วนตัวของเพศหญิงไม่พบความแตกต่างและมีคะแนนใกล้เคียงกับเกณฑ์ ส่วนการยอมรับที่มีต่ออุปนิสัยของเพศชายมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และแสดงว่าการรับรู้ของเพศหญิงที่มีต่อเพศชายมีลักษณะในทางลบและไม่พอใจ


3.2 งานวิจัยในประเทศ
อาคม หงษ์ทอง (2539: 65) ได้ศึกษาผลกิจกรรมกลุ่มที่มีต่อความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านแบนชะโด เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน24 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 10 คน กลุ่มทดลองได้รับการใช้โปรแกรมกิจกรรมกลุ่มและกลุ่มควบคุมได้รับการใช้โปรแกรมการสอนปกติ ผลการศึกษาพบว่านักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มมีการพัฒนาความมีน้ำใจมากกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
สุกัญญา ภูริยะพันธ์ (2540: 77–78) ได้ศึกษาการเปรียบเทียบผลของการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มและรายบุคคลตามทฤษฎีเผชิญความจริงที่มีต่อความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 16 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 กลุ่มละ 8 คน กลุ่มทดลองที่ 1 ได้รับการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญ ความจริงตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ 3 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวม 9 ครั้ง ครั้งละ 1.30 ชั่วโมงและกลุ่มทดลองที่ 2 ได้รับการให้คำปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีเผชิญความจริงตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ 5สัปดาห์ คนละ 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ รวม 9 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการให้คำปรึกษาเป็นกลุ่ม และรายบุคคลตามทฤษฎีเผชิญความจริงมีความน้ำใจเพิ่มขึ้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยที่นักเรียนได้รับคำปรึกษาเป็นกลุ่มตามทฤษฎีเผชิญความจริงมีความน้ำใจเพิ่มขึ้นมากกว่านักเรียนที่ได้รับการให้คำปรึกษารายบุคคลตามทฤษฎีเผชิญความจริง
ถวิลวัลย์ อัมรินทร์ (2543: 42) ได้ศึกษาความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม พบว่า ความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ โดยรวมและรายด้านเพิ่มขึ้นหลังเข้าร่วมโครงการพัฒนาความมีน้ำใจ โดยใช้กิจกรรมกลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
มยุรี เสมใจดี (2546: 57) ได้ศึกษาผลของกลุ่มสัมพันธ์เพื่อพัฒนาความมีน้ำใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 25คน ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เข้าร่วมโปรแกรมกลุ่มสัมพันธ์มีความมีน้ำใจต่อเพื่อนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01
เศรษฐกร มงคลจาตุรงค์ (2546: 68) ได้ศึกษาผลการแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนสตรีวิทยา 2 กรุงเทพมหานคร พบว่า นักเรียนที่ได้เข้าร่วมการฝึก การแสดงออกที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้เข้าร่วมการฝึกการแสดงออกที่เหมาสม เพื่อพัฒนาความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ด้านความเห็นอกเห็นใจผู้อื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01จากการรวบรวมข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า การศึกษาความมีน้ำใจส่วนใหญ่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับเพศและผลของกิจกรรมกลุ่ม ซึ่งเป็นการศึกษาในลักษณะกลุ่มเดียว แต่การศึกษาที่เน้นหลายระดับและเกี่ยวข้องกับวิธีการอบรมเลี้ยงดูยังไม่มีแพร่หลาย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจในระดับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยยึดองค์ประกอบของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ประกอบด้วย 5 ลักษณะ คือ การช่วยเหลือ การปลอบโยนหรือให้กำ ลังใจ การแสดงความเอื้ออาทร การชื่นชมยินดีในความดีงามของผู้อื่นและการไม่เบียดเบียนตนและผู้อื่น ซึ่งทำการแสดงความเที่ยงตรง โดยวิธีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองกับแบบวัดความมีน้ำใจของสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติและวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องภายใน ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนส่วนย่อยภายในแบบวัด กับคะแนนรวมของแบบวัดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจ นอกจากนี้แล้วยังแสดงค่าอำนาจจำแนกของข้อคำถามรายข้อตลอดจนความเชื่อมั่นทั้งฉบับ และเปรียบเทียบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจของนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โดยจำแนกตามระดับชั้นเรียน และวิธีการอบรมเลี้ยงดู รวมทั้งศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนที่มีระดับชั้นเรียนและวิธีการอบรมเลี้ยงดู ต่อคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้านความมีน้ำใจ






วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

เรื่อง เซลล์


เซลล์คือ เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดที่สามารถแสดงคุณสมบัติและความ เป็นสิ่งมีชีวิตอย่างสมบูรณ์ และมีส่วนช่วยในการสร้างและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆที่อยู่ภายในร่างกายของมนุษย์

โครงสร้างเซลล์
1.   นิวเคลียส (nucleus)
เป็นโครงสร้างที่มักพบอยู่กลางเซลล์เมื่อย้อมสีจะติดสีเข้มทึบ มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของเซลล์ โดยทำงานร่วมกับไซโทพลาซึม 
โครงสร้างของนิวเคลียสประกอบด้วย  3  ส่วนคือ
1.เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear membrane) เป็นเยื่อบางๆ2 ชั้น เรียงซ้อนกัน  ทำหน้าที่เป็นทางผ่านของสารต่างๆ ระหว่างไซโทพลาซึมและนิวเคลียส
2. โครมาทิน (chromatin) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่ย้อมติดสี  เป็นเส้นใยเล็กๆ พันกันเป็นร่างแห มีหน้าที่ควบคุมกิจกรรมต่างๆ    ของเซลล์และควบคุมการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทั่วไป
3. นิวคลีโอลัส (nucleolus) เป็นส่วนของนิวเคลียสที่มีลักษณะเป็นก้อนอนุภาคหนาทึบ

2.ไซโทพลาซึม(cytoplasm)
เป็นส่วนที่ล้อมรอบนิวเคลียสอยู่ภายในเยื่อหุ้มเซลล์โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น  2  ชั้นคือ
1. เอกโทพลาซึม (ectoplasm)เป็นส่วนของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านนอกติดกับเยื่อหุ้มเซลล์ มีลักษณะบางใส เพราะ
มีส่วนประกอบต่างๆของเซลล์อยู่น้อย
2. เอนโดพลาซึม (endoplasm) เป็นชั้นของไซโทพลาซึมที่อยู่ด้านในใกล้นิวเคลียสชั้นนี้จะมีลักษณะที่เข้มข้นกว่า เนื่องจากมี ออร์แกเนลล์(organelle)และอนุภาคต่างๆ

ไซโทพลาซึมนอกจากแบ่งออกเป็น  2  ชั้นแล้วยังมีส่วนประกอบที่สำคัญ  2   ส่วนคือ
ก.ออร์แกเนลล์(organelle)  เป็นส่วนที่มีชีวิตทำหน้าที่คล้ายๆกับเป็นอวัยวะของเซลล์
ออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้ม(membraneboundedorganelle)
1.ไมโทคอนเดรีย (mitochondria) ส่วนใหญ่จะมีรูปร่างกลม ท่อนสั้น ท่อนยาว มีหน้าที่ของไมโทคอนเดรียคือเป็นแหล่งสร้างพลังงานของเซลล์โดยการหายใจ